กระจกหน้าต่าง มีกี่ประเภท มีคุณสมบัติอย่างไร ติดตั้งร่วมกับผ้าม่านแบบไหนดี?


ในการแต่งบ้าน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าวัสดุตกแต่งมีการพัฒนาอย่างมากจนมีตัวเลือกมากมาย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่แตกต่างไปของแต่ละคน ทั้งนี้ เมื่อเป็นเรื่องของกระจกหน้าต่างและประตู ที่อาจดูคล้ายกันจากภายนอก แต่ในความจริงแล้วกระจกเหล่านี้มีหลากหลายประเภทให้เลือกสรรตามความต้องการ ฉะนั้น วันนี้ เราจะมาเจาะลึกกันว่ากระจก มีกี่ประเภท แต่ละแบบมีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไร พร้อมแนะนำการติดตั้งผ้าม่านเพิ่มเติม เพื่อสร้างบรรยากาศห้องที่เป็นเอกลักษณ์มากยิ่งขึ้น

กระจก มีกี่ประเภท?

แม้จะเป็นกระจกใสที่ดูเหมือนๆ กัน แต่ปัจจุบัน เทคโนโลยีการผลิตได้ก้าวหน้าขึ้นมาก ส่งผลให้มีประเภทกระจกบ้านและอาคารออกมาจำหน่ายในท้องตลาดหลากหลายมากขึ้น ซึ่งประเภทกระจกที่สามารถพบได้ทั่วไปมีอยู่ 5 รูปแบบ ได้แก่

1. กระจกทั่วไป (Float Glass)

กระจกธรรมดาที่หลายคนรู้จักกันดี ผลิตขึ้นโดยใช้วิธีการหลอมและอบทั่วไป จึงมีคุณสมบัติโปร่งแสง ผิวเรียบ แข็งแรง สะท้อนแสงได้ดี ซึ่งในท้องตลาดนิยมใช้งานความหนาตั้งแต่ 2 – 20 มม. ขึ้นไป อีกทั้งยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบย่อย คือ

  • กระจกใส – กระจกที่มีความโปร่งแสง ให้มิติภาพสะท้อนสมบูรณ์และมองทะลุผ่านได้ชัดเจน ซึ่งมีค่าตัดแสงโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 8% ดูดกลืนความร้อนได้น้อย สามารถติดตั้งใช้งานได้ทั้งผนังภายนอกและภายใน แต่อาจไม่เหมาะกับพื้นที่ที่ต้องการความเป็นส่วนตัว หรือห้องที่โดนแดดจัด
  • กระจกสี – มีการผสมโลหะออกไซด์ในเนื้อกระจก เพื่อให้เกิดสีสันต่างๆ โดยสีของกระจกจะช่วยตัดแสง ดูดกลืนความร้อน และลดความเข้มของแสงได้ ซึ่งอาจลดรังสีความร้อนที่เข้ามาภายในอาคารได้ 40-50% ขึ้นอยู่กับความเข้มของสีกระจก

กระจกทั่วไปมีข้อดีในหลายด้าน ด้วยคุณสมบัติที่เป็นพื้นผิวเรียบ ให้มิติการสะท้อนที่สมบูรณ์ สามารถนำไปเคลือบโลหะให้เป็นกระจกสะท้อนแสงได้ แต่ปริแตกง่าย ซึ่งลักษณะการแตกเป็นปากฉลาม มีความแหลมคม เสี่ยงอันตรายต่อผู้ใกล้เคียง นอกจากนี้ยังมีขีดจำกัดในการรับน้ำหนัก ไม่ทนต่ออุณหภูมิและแรงดันลมในที่สูง

ผ้าม่านที่เหมาะกับกระจกแบบทั่วไป

สำหรับกระจกทั่วไปที่ไม่ได้มีการผสมหรือทำสีเพิ่มเติม อาจส่งผลให้มีความร้อนเข้ามาในตัวบ้านได้ จึงแนะนำให้ติดตั้งผ้าม่านกันแสง เช่น Dim Out เพื่อลดความเข้มข้นของแสง หรือ Black Out สำหรับผู้ที่ต้องการความเป็นส่วนตัว

 

2. กระจกนิรภัย (Tempered Glass)

เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “กระจกอบ” ผลิตจากการอบกระจกธรรมดาด้วยความร้อนและทำให้เย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างแรงอัดบนผิวกระจก ทำให้มีความแข็งแรงมากขึ้น ซึ่งความหนาของกระจกนิรภัยที่จำหน่ายในท้องตลาด ได้แก่ 4, 5, 6, 8, 10, 12, 15 และ 19 มิลลิเมตร เป็นกระจกที่นิยมใช้ในอาคาร หรือใช้เป็นกระจกประตูนิรภัย

ข้อดีของกระจกนิรภัย

  • มีความแข็งแรงกว่ากระจกธรรมดาราว 5 – 10 เท่า
  • ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้ถึง 150 ℃ รวมถึงทนต่อแรงดึงและการหักงอสูง
  • เมื่อแตกจะเป็นเม็ดเล็ก คล้ายเมล็ดข้าวโพด ไม่มีความคม ลดโอกาสเกิดการบาดเจ็บ

ข้อเสียของกระจกนิรภัย

  • มีราคาที่สูงกว่ากระจกทั่วไป 
  • เนื้อกระจกให้ความรู้สึกบิดเบี้ยวเล็กน้อยเมื่อมองผ่าน

ผ้าม่านที่เหมาะกับกระจกนิรภัย

กระจกนิรภัยมีความแข็งแรงมากกว่ากระจกทั่วไป ทั้งนี้อาจไม่สามารถลดแสงสว่างที่เข้ามาในตัวบ้านได้ทั้งหมด ดังนั้น เจ้าของบ้านสามารถเลือกติดตั้งผ้าม่านกันแสง หรือหากเป็นบนอาคารสูง อาจเลือกเป็นม่านพับ หรือมู่ลี่ก็สามารถทำได้เช่นกัน

 

3. กระจกลามิเนต (Laminated Glass)

กระจกลามิเนตมีอีกชื่อว่า “กระจกนิรภัยหลายชั้น” ซึ่งเกิดจากการนำกระจกนิรภัยและกระจกธรรมดาตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไปมาประกบติดกัน ส่งผลให้กระจกประเภทนี้มีความแข็งแรงและปลอดภัยสูง สามารถรับแรงเลื่อน แรงปะทะบ่อยๆ ได้ นอกจากนี้ยังป้องกันเสียงรบกวนภายนอกและเก็บเสียงได้ดีกว่ากระจกธรรมดา ประกอบกับมีข้อดีอีกมากมาย จึงมักนิยมนำมาใช้งานกับช่องแสงบนที่สูง ใช้เป็นกระจกหน้าต่างสำหรับห้องที่ไม่ต้องการให้เกิดเสียงทะลุ

ข้อดีของกระจกลามิเนต

  • ช่วยป้องกันความร้อนได้ดีและกันรังสียูวีได้มากกว่า 90%
  • หากกระจกแตก เศษกระจกจะไม่ร่วงหล่น สามารถลดอันตรายได้มากขึ้น
  • สามารถทนต่อแรงดันลมในที่สูง ทนต่อแรงอัดกระแทก ช่วยป้องกันการบุกรุกได้
  • สามารถเคลือบสีได้ตามความต้องการ

ข้อเสียของกระจกลามิเนต

  • ฟิล์ม PVB ที่ใช้สำหรับยึดแผ่นกระจกมีคุณสมบัติดูดความชื้น หากติดตั้งกระจกในบริเวณที่มีความชื้นสูง อาจทำให้ประสิทธิภาพการยึดเกาะระหว่างกระจกและฟิล์มลดลง อาจเกิดการแยกตัวออกจากกันได้

ผ้าม่านที่เหมาะกับกระจกลามิเนต

กระจกลามิเนตมีคุณสมบัติป้องกันรังสียูวีได้มากอยู่แล้ว สามารถติดตั้งร่วมกับผ้าม่านชนิดใดก็ได้ตามความชอบ และอาจไม่จำเป็นต้องเลือกผ้าม่านที่มีความหนามากนัก สามารถติตม่านโปร่งสำหรับรับแสงสว่างในช่วงกลางวัน

 

4. กระจกฉนวนกันความร้อน (Insulated Glass)

กระจกที่ออกแบบมาเพื่อลดความร้อนภายในอาคาร โดยเป็นการนำกระจก 2 แผ่น มาประกบกัน โดยเว้นช่องว่างตรงกลางเอาไว้ด้วยกรอบหน้าต่าง ซึ่งส่วนใหญ่มักใช้เฟรมอะลูมิเนียม หรือ Aluminum Spacer เพื่อคั่นกลาง แล้วบรรจุสารดูดความชื้น เช่น อากาศแห้ง (Dried Air) หรือ ก๊าซเฉื่อย จึงทำให้เก็บรักษาอุณหภูมิได้ดี สามารถสะท้อนความร้อนได้มาก เป็นประเภทกระจกอาคารที่ใช้เพื่อป้องกันความร้อน และประหยัดการใช้พลังงานเป็นหลัก

ข้อดีของกระจกฉนวนกันความร้อน

  • ลดความร้อนจากภายนอกที่จะเข้าสู่อาคารได้สูงถึง 95 – 98% 
  • เครื่องปรับอากาศภายใน ไม่ต้องทำงานหนัก จึงช่วยประหยัดค่าไฟ
  • ป้องกันเสียงรบกวนจากด้านนอก
  • ไม่ก่อให้เกิดฝ้า หรือหยดน้ำเกาะบนผิวกระจก

ข้อเสียของกระจกฉนวนกันความร้อน

  • น้ำหนักค่อนข้างมาก เนื่องจากมีส่วนประกอบต่างๆ เยอะกว่ากระจกธรรมดา
  • จำเป็นต้องเผื่อระยะในการติดตั้งมากกว่ากระจกทั่วไป เพราะมีเฟรมและระยะการเว้นช่องเพิ่มขึ้นม

ผ้าม่านที่เหมาะกับกระจกฉนวนกันความร้อน

เนื่องจากความสามารถในการป้องกันความร้อนของกระจกประเภทนี้ การติดตั้งผ้าม่านอาจดูไม่จำเป็น อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ติดตั้งร่วมกับผ้าม่าน ไม่ว่าจะเป็นม่านลอน ม่านม้วน  หรือมู่ลี่ไม้ เพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับผู้อยู่อาศัย

 

5. กระจกสภาพการแผ่รังสีต่ำ (Low-E Glass)

คือ กระจกที่เคลือบด้วยผิวโลหะคล้ายกับกระจกสี แต่ใช้วัสดุที่เป็นโลหะเงิน ซึ่งมีคุณสมบัติในการแผ่ความร้อนน้อยมาก จึงสามารถสะท้อนและถ่ายเทความร้อนที่จะเข้ามาสู่ภายในอาคารได้ดี โดยกระจกประเภทนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ Hard-Coated Low-E และ Soft-Coated Low-E

  • Hard-Coated Low-E – กระจกที่เคลือบโลหะโดยการพ่นไอโลหะในขั้นตอนการหลอมเหลว เป็นกระจกที่ทนทานต่อรอยขีดข่วน และสามารถติดตั้งแบบแผ่นเดี่ยวได้ แต่ไม่สามารถกันความร้อนได้ดีนัก
  • Soft-Coated Low-E – กระจกที่เคลือบโลหะ ผ่านการใช้ขั้วแม่เหล็กไฟฟ้าช่วยเหนี่ยวนำโลหะให้ติดบนผิวกระจกในห้องสุญญากาศ ทำให้มีประสิทธิภาพกันความร้อนสูง แต่ไม่ทนต่อรอยขีดข่วน จึงมักใช้ประกบกับกระจกชั้นอื่นๆ

ผ้าม่านที่เหมาะกับกระจกสภาพการแผ่รังสีต่ำ

กระจกประเภทนี้มักนิยมใช้ในอาคารสำนักงาน และออฟฟิศสมัยใหม่ ซึ่งเพียงแค่ติดตั้งม่านม้วน มู่ลี่ หรือม่านไฟฟ้าเพื่อลดแสงแดดในช่วงกลางวันก็เพียงพอ เพราะตัวกระจกช่วยลดความร้อนที่เข้ามาภายในได้อยู่แล้ว

 

มีกระจกหน้าต่างแล้ว ต้องไม่ลืมผ้าม่าน

พอทราบกันไปแล้วว่ากระจกมีกี่ประเภท และสามารถเลือกใช้ตามความต้องการได้แล้ว อันดับต่อมา ต้องไม่ลืมที่จะเลือกสรรผ้าม่านที่จะใช้งานร่วมกับหน้าต่างด้วย เพราะแม้จะมีกระจกสำหรับลดความร้อนหรือปริมาณแสงที่เข้ามาภายในแล้ว การติดตั้งผ้าม่านเพิ่มเติมก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน

    • ป้องกันแสงแดดไม่ให้เข้ามาภายในบ้านหรืออาคาร – เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ หรือมีสมาธิในการทำงาน
    • ลดความร้อนที่เข้ามาภายในห้อง – โดยเฉพาะบ้านส่วนใหญ่ที่มักใช้กระจกทั่วไป หรือกระจกสี ซึ่งลดความร้อนได้เพียง 40 – 50% ผ้าม่านสามารถช่วยลดความร้อนในส่วนที่เหลือได้ โดยเฉพาะผ้าม่านกันแสงที่ช่วยลดอุณหภูมิ และช่วยประหยัดไฟจากการใช้เครื่องปรับอากาศได้ด้วย
  • ความเป็นส่วนตัว – แน่นอนว่า การติดตั้งผ้าม่านย่อมมอบความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการพักผ่อนภายในบ้านในช่วงเวลากลางวัน หรือในกรณีที่เป็นผ้าม่านเก็บเสียง ก็ยังสามารถช่วยลดเสียงรบกวนได้อีกด้วย
  • เปลี่ยนบรรยากาศห้อง – ผ้าม่านแต่ละแบบมีส่วนช่วยในการปรับเปลี่ยนบรรยากาศของห้องได้เป็นอย่างดี

ทั้งหมดนี้ก็เป็นแบบหน้าต่างบ้านที่สามารถพบเห็นได้บ่อยๆ ในท้องตลาด และถูกนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งนอกจากกระจกหน้าต่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น ยังมีกระจกกึ่งนิรภัย รวมถึงกระจกพิมพ์ลายเซรามิกที่มีการเพิ่มลวดลายเข้ามา เจ้าของบ้าน อาคารสามารถเลือกใช้ได้อย่างหลากหลายตามโจทย์การใช้งาน และที่สำคัญ ต้องไม่ลืมที่จะติดตั้งผ้าม่านร่วมด้วย เพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว และตกแต่งห้องเพิ่มเติม ซึ่งท่านใดที่สนใจติดตั้งผ้าม่านหน้าต่าง หรือต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม LUXE DÉCOR ยินดีให้บริการ

 

ติดตั้งผ้าม่านหน้าต่างครบวงจรกับ LUXE DÉCOR

บริษัท LUXE DÉCOR คือ ผู้ให้บริการงานติดตั้งผ้าม่านและมู่ลี่ครบวงจร จำหน่ายผ้าม่านกันแสงชนิดต่างๆ รวมถึงม่านไฟฟ้าและมู่ลี่ผลิตจากวัสดุคุณภาพดีเยี่ยม พร้อมให้คำแนะนำกับลูกค้าในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวัดพื้นที่ การวัดขนาดผ้าม่าน/มู่ลี่ การเลือกชนิดผ้าม่าน ไปจนถึงการออกแบบลวดลายผ้าม่านและมู่ลี่ให้เหมาะสมกับสถานที่และการติดตั้ง อีกทั้งยังมีบริการหลังการขาย และการรับประกันงานบริการ 1 ปีเต็ม

ดูรายละเอียดประเภทผ้าม่านเพิ่มเติม คลิก

ขั้นตอนการเข้ารับบริการติดตั้งผ้าม่านและมู่ลี่จาก LUXE DÉCOR

ติดตั้งผ้าม่านกับ LUXE DÉCOR ง่ายๆ เพียง 5 ขั้นตอน

  1. 1. ติดต่อสอบถามและนัดหมายวัดพื้นที่ ผ่านช่องทาง ดังนี้
  • LINE Official: @LUXEDECOR
  • โทร.: 081-556-9566
  1. วัดพื้นที่ประเมินราคา นำเสนอรูปแบบผ้าม่านและแนะนำชนิดผ้าที่เหมาะสมให้ลูกค้าเลือก
  2. จัดส่งใบเสนอราคา ลูกค้าพิจารณารายละเอียด
  3. ลูกค้าโอนเงินมัดจำ และนัดหมายติดตั้งงาน
  4. ติดตั้งงาน (ระยะเวลาติดตั้งขึ้นอยู่กับปริมาณจุดที่ติดตั้ง)
LUXE DÉCOR ผู้ให้บริการงานผ้าม่านครบวงจร